ตัวระบุ ตัวแปร ค่าคงที่ และชนิดข้อมูล

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. สามารถประกาศตัวแปรชนิดต่างได้
  2. สามารถบอกขอบเขตของ Char ได้
  3. สามารถบอกความหมายของรหัสแอสกรีได้
  4. สามารถใช้เลือก %f, %e, %g ได้
  5. สามารถอธิบายลักษณะการแทนตัวเลขในหน่วยความจำของ Char , int , float , double ได้
  1. ตัวระบุ (identifiers)
      ตัวระบุ เป็นชื่อที่นักเขียนโปรแกรมใช้ตั้งชื่อ ตัวแปร (variables) ค่าคงที่ (constants) ชนิดของข้อมูล (types) ฟังก์ชัน (functions) หรือ ป้าย (labels) ในโปรแกรม ชื่อของตัวระบุต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร หรือ ตัวขีดเส้นล่าง (underscore charactors) แล้วตามด้วยตัวอักษร หรือ ตัวเลขก็ได้ ปกติแล้วชื่อตัวระบุจะยาวไม่เกิน 31 ตัว ทั้งนี้แล้วแต่คอมไพเลอร์(compiler) ว่าจะสามารถอนุญาติว่าจะให้ยาวเท่าใด การตั้งชื่อ ชื่อตัวระบุห้ามมีตัวอักษรพิเศษใดๆ ยกเว้นตัวขีดเส้นล่าง เช่น x_point เป็นต้น การแยกความแตกต่างระหว่างตัวระบุ ใน C จะเปรียบเทียบจากซ้ายไปขวา และ ถือว่าตัวพิมพ์เล็กกับตัวพิมพ์ใหญ่มีความแตกต่างกัน เช่น iscore กับ iScore ถือว่ามีความแตกต่างกัน เป็นต้น

        ลักษณะการตั้งชื่อตามปกติแล้วมักจะนิยมขึ้นต้นด้วยตัวย่อแทนชนิดข้อมูล เช่น "i" แทนจำนวนเต็ม "f" แทนเลขทศนิยม "sz" แทนสายอักขระ 

        ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวระบุที่ถูกต้อง
  • iscore
  • itotal
  • fsize
        ตัวอย่างการตั้งชื่อที่ผิด
  • 1st_month           ห้ามขึ้นต้นด้วยตัวเลข
  • #per_no              มีอักขระพิเศษ # อักขระพิเศษได้แก่ !@#$%^&*()-
  • No_phone!         มีอักขระพิเศษ !
  2. ตัวแปรกับหน่วยความจำ
         จากองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ส่วนนำเข้าข้อมูล(input Unit) ส่วนประมวลผล
กลาง (Central Processing Unit) ส่วนแสดงผล (Output Unit) เมื่อเราประกาศตัวแปรใด หรือค่าคงที่ในโปรแกรม คอมไพเลอร์จะต้องเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับตัวแปรเหล่านั้นให้ระบบปฏิบัติการ

ชนิดข้อมูล ตัวแปร1, ตัวแปร2, …,ตัวแปรn; เช่น


     int count;                           // ประกาศตัวแปรชื่อ count ใช้เก็บข้อมูลชนิด interger
     int m, n;                             // ประกาศตัวแปรชื่อ m และ n ใช้เก็บข้อมูลชนิด interger
     int no = 10;                       /* ประกาศตัวแปรใช้เก็บข้อมูลชนิด interger ชื่อ no
                                                            และเก็บค่า 10 ไว้ในตัวแปรดังกล่าว*/
     long number;                    // ประกาศตัวแปรชื่อ number ใช้เก็บข้อมูลชนิด long

     float percent, total;         /* ประกาศตัวแปรชื่อ percent และ total ใช้สำหรับเก็บข้อมูลชนิด float */

3. ค่าคงที่
    
       ค่าคงที่นั้นต่างจากตัวแปรตรงที่มันเก็บค่าเอาไว้เพียงค่าเดียวตลอดทั้งโปรแกรมโดยหลังจากที่เราสร้างค่าคงที่แล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนค่าได้

ค่าข้อมูลที่ใช้ในโปรแกรม และไม่มีการ
เปลี่ยนแปลงค่า ค่าคงที่ 1 ค่า มีชนิดของข้อมูล 1 ชนิดเท่านั้น เช่น

    n1 = 10;                                           10 = int constant
    puts("Hi!");                                        "Hi!" = string constant
    base = 4.0;                                       4.0 = floating-point eonstant
    char ch = '*';                                     '*' = character constant





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น